|
||||
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างงานวิจัยระบบประมาณการยกระดับบานประตูระบายน้ำ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักใต้ (เขื่อนพระรามหก) ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการรับ-ส่งน้ำจากแม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำป่าสัก ระบายน้ำเข้าสู่คลองระพีพัฒน์ อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความต้องการหาระบบที่ให้ในการแก้ไขปัญหาบริหารจัดทรัพยากรน้ำ ซึ่งสามารถการประมาณการระบายน้ำในแต่ละวัน-เวลาในโครงข่ายการระบายน้ำ (Network Drainage) และคำนึงถึงความสัมพันธ์ร่วมกับความสามารถของประตูระบายน้ำในแต่ละที่ได้ ในโครงการฯ มีประตูระบายน้ำจำนวน 6 ประตูระบายน้ำได้แก่ เขื่อนพระรามหก ประตูระบายน้ำพระนารายณ์ ประตูระบายน้ำพระมหินทร์ ประตูระบายน้ำพระเอกาทศรถ ประตูระบายน้ำพระศรีศิลป์ และ ประตูระบายน้ำพระศรีเสาวภาค สถานการณ์ ซึ่งมีคุณสมบัติและความสามารถในแต่ละประตูระบายน้ำ โดยโครงการฯ ต้องการนำระบบมาเพื่อการจัดเตรียมแผนการระบายน้ำและคำนวณประมาณการใช้พลังงานในการยกระดับบานประตูระบายน้ำหรือการปิด-เปิด ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด |
||||
ทำให้ ดร.พฤฒิพงศ์ เพ็งศิริ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คิดค้นงานวิจัยระบบประมาณการยกระดับบานประตูระบายน้ำในโครงข่ายด้วยการประยุกต์หาค่าเหมาะสม โดยนำวิธีการ PIMOGA มาใช้เพื่อต่อยอดแนวคิดมาเป็นนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถใช้งานได้จริง โดยได้แบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) ส่วนนำเข้าข้อมูลการระบายน้ำ 2) ส่วนการประมวลผลด้วยวิธีการ PIMOGA และ 3) ส่วนแสดงผลการประมาณค่าเหมาะสมของการระบายน้ำ ซึ่งมีปัจจัยด้านอิทธิพลตามฤดูกาลเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องโดยอาศัย Fitness Function ด้วยวิธีการพยากรณ์แบบ Holt-Winters’ Exponential Smoothing และผลลัพธ์ได้มุ่งเน้นถึงการค้นหาคำตอบของค่าความเหมาะสมในการระบายน้ำเป็นแบบกว้าง (Global Solution) และนำมาคำนวณการยกระดับบานประตูระบายน้ำ จากการทดลองพบว่าวิธีการ PIMOGA สามารถหาค่าความเหมาะสมในการยกระดับบานประตูระบายน้ำได้มีประสิทธิภาพ ระบบนี้เป็นต้นแบบการวิเคราะห์การระบายและได้นำเสนอแก่ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักใต้ สำนักงานชลประทานที่ 10 กรมชลประทาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งทางหน่วยงานให้ความสนใจเป็นอย่างมากและจะวางแผนทดลองใช้งาน และขยายพื้นที่โครงข่ายการระบายน้ำเพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป นอกจากนั้นงานวิจัยนี้ยังได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่อพลังงาน ระดับ "ยอดเยี่ยม" ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 11 ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : นักวิจัย : ดร.พฤฒิพงศ์ เพ็งศิริ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ E mail : prudtipong.p@rmutsb.ac.th สถาบันวิจัยและพัฒนา งานบริหารงานวิจัย Tel.035-709097 |
||||