1111

 

 

  ปลูกพืชในอาคารง่ายขึ้นด้วยเครื่องกำเนิดแสงอาทิตย์เทียมสำหรับปลูกพืชด้วยไดโอดเปล่งแสง


    ในประเทศไทยมีการนำแสงอาทิตย์เทียมไปใช้ทดแทนแสงธรรมชาติอยู่บ้างใช้ในการวิจัยและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของ กล้วยไม้ ยูคาลิปตัส ผักสลัดเรดโอ๊คฯลฯ โดยใช้แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์หรือแสงจากไดโอดเปล่งแสง แต่ยังไม่พบว่ามีการสร้างแหล่งกำเนิดแสงที่สามารถเปลี่ยนสเปกตรัมของแสงให้เปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการในการเจริญเติบโตของพืชแต่ละช่วงเวลาได้

    รองศาสตราจารย์นภัทร วัจนเทพินทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ จึงนำแนวคิดดังกล่าวมาเป็นปัญหาเพื่อการวิจัยและพัฒนา ชุดกำเนิดแสงเทียมสำหรับปลูกพืชด้วยไดโอดเปล่งแสงที่สามารถควบคุมสเปกตรัมของแสงได้อย่างแม่นยำ และจ่ายสเปกตรัมของแสงที่แตกต่างกัน 3 รูปแบบ เหมาะสมกับการปลูกพืชในระยะเพาะกล้า ระยะการเจริญเติบโตและระยะการออกดอกและผล จนเกิดเป็นนวัตกรรมเครื่องกำเนิดแสงอาทิตย์เทียมสำหรับปลูกพืชด้วยไดโอดเปล่งแสง และได้รับการจดอนุสิทธิบัตร เลขที่ 15177 พ.ศ. 2562

 



 
 




 


จุดเด่นของเทคโนโลยี


        1.นวัตกรรมดังกล่าวให้แสงที่มีสเปกตรัมของแสงสีแดงต่อแสงสีน้ำเงินได้ 3 รูปแบบ มีความแม่นยำสูงและควบคุมค่าโฟตอนฟลักซ์เพื่อการสังเคราะห์แสงให้คงที่ได้ดี เหมาะที่จะนำไปใช้สำหรับการปลูกพืชในห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาวิจัย หรือประยุกต์ใช้ปลูกพืชภายในอาคารตั้งแต่ระยะเพาะกล้าพืชจนถึงระยะการออกผล โดยใช้นวัตกรรมนี้เพียงเครื่องเดียว
        2.เครื่องกำเนิดแสงเทียมสำหรับปลูกพืชด้วยไดโอดเปล่งแสงฯ ใช้เป็นแสงเสริมในโรงเรือน หรือ การปลูกพืชในอาคารหรือในพื้นที่ที่แสงธรรมชาติไม่เพียงพอ การปลูกพืชในระบบปิด โรงงานผลิตพืช
         3. พืชที่ปลูกภายใต้แสงอาทิตย์เทียมจะมีระยะการเกี่ยวเกี่ยวที่สั้นลง และมีผลผลิตสูงกว่าการปลูกโดยใช้แสงธรรมชาติแบบปกติ
         4. ช่วยเพิ่มคุณภาพของพืชด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิต เช่น การเพิ่มสารสำคัญ ไวตามิน สารต้านอนุมูลอิสระ
         5. ผู้เขียนนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการวิจัยเป็นวิทยากรถ่ายทอดเทคโนโลยี "การปลูกพืชในชั้นปลูกโดยใช้แสงเทียม" ครั้งที่ 1 ให้กับกลุ่มเกษตรผู้ปลูกมะยงชิด ในจังหวัดนครนายก มีผู้สนใจเข้าร่วมรับการอบรม จำนวน 90 คน ในวันพุธที่ 11 กรกฎาคม 2561 ณ วิทยาลัยเทคนิคนครนายก จ.นครนายก และถ่ายทอดเทคโนโลยี ครั้งที่ 2 ที่ หอประชุมเทศบาลตำบลบ้านแพรก อ.บ้านแพรก จ.พระนครศรีอยุธยา มีเกษตรกรและนักเรียนเข้าร่วมโครงการจำนวน 40 คน เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2561 นำไปถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยการจัดแสดงนิทรรศการวันนักประดิษฐ์ประจำปี 2561 ระหว่างวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2561 ที่อาคารนิทรรศการศูนย์ประชุม ไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร  
       6. นวัตกรรมได้รับรางวัลระดับนานาชาติ
         นวัตกรรมนี้ เป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช) เพื่อเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงนิทรรศการในเวทีระดับนานาชาติ ประจำปีงบประมาณ 2562 ในงาน “The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New products” (iENA 2018) ณ เมือง นูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 30 พ.ย. ถึง 3 ธ.ค. 2562 ผลงานชื่อ “The Artificial LED light with Programmable Spectrum for Plants Cultivation” โดย รศ.นภัทร วัจนเทพินทร์ ผศ.เฉลิมพล เรืองวัฒนาวิวัฒน์ และ นายอังสุชวาลนันท์ จำปานาค ผลงานนี้ได้รับรางวัล “เหรียญทอง” และยังได้รับรางวัลเกียรติยศ “The Best Invention”จาก The 1st Inventor and Researcher in Iran ประเทศอิหร่าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :
นักวิจัย : รองศาสตราจารย์ นภัทร วัจนเทพินทร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
E mail : napatwatjanatepin@gmail.com

สถาบันวิจัยและพัฒนา
งานบริหารงานวิจัย
Tel.035-709097


 
         
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ



สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
60 หมู่ 3 ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000


  097 270 8866
  rdi@rmutsb.ac.th
  www.facebook.com/rdi.rmutsb